การต่อเติมบ้านนั้นถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับตัวบ้าน เมื่อเราอยู่ไปซักระยะ เราอาจจะอยากปรับเปลี่ยนหรืออยากได้พื้นที่มากขึ้น รวมถึงการขยายครอบครัวด้วยนะคะ หลายๆคนก็ลองทำแบบงูๆปลาๆจ้างช่างมาต่อเติมเลย หรือบางครอบครัวก็ค่อยๆต่อเติมไปเรื่อยๆโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้าง ความต้องการที่จะ ปรับปรุงบ้าน ให้รองรับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เริ่มเป็นกระแสใหม่ที่อยู่ในความสนใจของใครหลายคน เพราะด้วยเหตุปัจจัยที่ต่างกัน เช่นบางคนต้องหาพื้นที่ Work From Home ตามนโยบายของบริษัทที่เริ่มนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง บางคนต้องพับแผนการซื้อคอนโดฯในเมืองเพราะรายได้เริ่มลดลง ความคิดในการ รีโนเวทบ้าน เพื่อให้น่าอยู่และตอบโจทย์การใช้ชีวิตภายในบ้านเริ่มมีขึ้นกับหลายครอบครัว
ข้อแนะนำ 6 ขั้นตอนก่อนลงมือ รีโนเวทบ้าน ไว้อย่างน่าสนใจ
1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการ ปรับปรุงบ้าน ประเมินสภาพโดยรวมของบ้าน เพื่อกำหนดโจทย์ตั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นปรับปรุงบ้านทั้งหลัง หรือปรับปรุงบางส่วนให้ใช้งานได้ดีขึ้น
2. รวบรวมข้อมูลและรูปแบบที่ชอบ การตกแต่งห้องหรือพื้นที่ที่ประทับใจ รวมถึงวัสดุที่ใช้ ตลอดจนวิธีการในการปรับปรุงซ่อมแซมแต่ละส่วน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง หรือเป็นข้อมูลในการออกแบบของสถาปนิกหรือมัณฑนากร และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
3. ตรวจสอบสภาพพื้นที่และกำหนดแนวทางในการปรับปรุง ควรตรวจสอบส่วนต่างๆ ของบ้าน หรือพื้นที่ที่กำลังจะปรับปรุงว่ามีส่วนใดยังใช้งานได้ดี หรือมีส่วนใดที่เสียหายต้องซ่อมแซมทั้งก่อนและขณะลงมือปรับปรุงบ้าน โดยการทำ Check List ในแต่ละห้องหรือแต่ละพื้นที่ตามประเภทงานต่าง ๆ โดยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
4. สรุปส่วนที่ต้องการปรับปรุง โดยพิจารณางานปรับปรุงซ่อมแซมต่างๆ จาก Check List ที่ทำไว้ และสรุปเนื้องานที่ต้องการปรับปรุงตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้
5. จัดเตรียมงบประมาณในการปรับปรุงบ้าน แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ค่าออกแบบโดยสถาปนิก มัณฑนากร วิศวกรโครงสร้าง และวิศวกรงานระบบต่างๆ ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ได้แก่ ค่าวัสดุและค่าแรงก่อสร้าง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าดำเนินการต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง และ
ส่วนที่ 3 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าดำเนินการขออนุญาตปรับปรุงบ้านกับหน่วยงานราชการ (สำหรับกรณีที่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาต) ค่าบริการที่ปรึกษางานก่อสร้าง ฯลฯ
6. เลือก วิธีรีโนเวทบ้าน หากเป็นการรีโนเวทบ้านทั้งหลัง หรือเป็นการต่อเติมปรับปรุงพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถเลือกได้ 2 วิธี คือ Design-Bid-Built เป็นลักษณะที่ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาแยกกันคนละราย และ Design & Build เป็นลักษณะที่ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาคือรายเดียวกัน หรือที่เรียกทั่วไปว่า “Turn Key”
สำหรับงานปรับปรุงบางส่วน หรือซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ ควรใช้บริการช่างเฉพาะทางเป็นส่วนๆ ซึ่งอาจจะมีค่าบริการค่อนข้างสูงเมื่อเทียบต่อขนาดพื้นที่ ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาผลงานที่ผ่านมาของผู้รับเหมาแต่ละรายโดยละเอียด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพดีคุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้